วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนวข้อสอบบทที่ 3

1. Ca , C และ Cl สัญลักษณ์ของธาตุดังกล่าวเป็นของธาตุใด ตามลำดับ
ก. คาร์บอน แคลเซียม คลอรีน
 ข. คาร์บอน คลอรีน แคลเซียม
 ค. แคลเซียม คลอรีน คาร์บอน
 ง. แคลเซียม คาร์บอน คลอรีน
2. หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่าอะตอม ใครคือผู้ค้นพบอะตอม
 ก. โจเซฟ จอห์น ทอมสัน
 ข. จอห์น ดอลตัน
 ค. รัทเทอรฟอร์ด
 ง. นีลส์ โบร์
3. ภายในนิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.  โปรตอนและนิวตรอน
 ข. อิเล็กตรอนและโปรตอน
 ค. นิวตรอนและอิเล็กตรอน
 ง. โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
4. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการแผ่รังสีของธาตุกันมันตรังสี
 ก. ธาตุกัมมันตรังสีแผ่รังสีเนื่องจากอิเล็กตรอนในอะตอมไม่เสถียร
 ข. ธาตุกัมมันตรังสีแผ่รังสีเนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร
 ค. รังสีที่ธาตุกัมมันตรังสีแผ่ออกมาคือรังสีแอลฟาเสมอ
 ง. รังสีที่ธาตุกัมมันตรังสีแผ่ออกมาเป็นโทษต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต
5. รังสีใดมีอำนาจในการทะลุทะลวงน้อยที่สุด
 ก. รังสีแอลฟา
 ข. รังสีบีตา
 ค. รังสีแกมมา
 ง. รังสีเอกซ์
 6. ข้อใดกล่าวถึงรังสีบีตาได้ถูกต้อง
 ก. ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านกระดาษได้
 ข. ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านคอนกรีตได้
ค. ทะลุทะลวงผ่านโลหะบางๆ ได้
 ง. ไม่มีประจุและมวล
7. ธาตใดไม่ใช่ธาตุกัมมันตรังสี
 ก. ยูเรเนียม
 ข. เรเดียม
 ค. โบรอน
 ง. เรดอน
8. ถ้านำธาตุกัมมันตรังสีไปใช้ประโยชน์ข้อใดไม่สอดคล้องกัน
 ก. โซเดียม-24 ใช้ตรวจวงจรโลหิต
 ข. โคบอลต์-60 ใช้รักษาโรคไต
 ค. คาร์บอน-14 ใช้ตรวจหาอายุของวัตถุโบราณ
 ง. ไอโอดีน-131 ใช้ตรวจความผิดปกติของต่อไทรอยด์
8. ธาตุอโลหะมีสมบัติอย่างไร
ก.  เคาะมีเสียงดังกังวาน
 ข.  ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน
 ค.  จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง
 ง.  แข็งเหนียวตีเป็นแผ่นและดึงเป็นเส้นได้
9. ข้อใดเป็นธาตุกึ่งโลหะ
 ก.  โบรอน ซิลิคอน เจอร์มาเนียม
 ฃ. ลิเทียม เบริลเลียม แคลเซียม
 ค. โซเดียม ทองแดง แมงกานีส
 ง. อาร์กอน นีออน ฟลออรีน
10. ข้อใดใช้สัญลักษณ์บอกชนิดของธาตุไม่ถูกต้อง
 ก. H-ไฮโดรเจน
 ข. N-ไนโตรเจน
 ค. O-ออกซิเจน
 ง. P-โพแทสเซียม                 
เฉลย
1. ง   2. ข   3. ก   4. ข   5. ก  
6. ข   7. ค   8. ข   9. ก  10.ง 

ธาตุกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสี

คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้รังสีเอ็กซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895 ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสีเรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัมอ่านเพิ่มเติม



ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ
ธาตุกึ่งโลหะ (อังกฤษ: metalloids) เป็นธาตุที่มีองค์ประกอบทางเคมีซึ่งมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างสมบัติของโลหะกับอโลหะ โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือข้อตกลงที่แน่นอนของการเป็นธาตุกึ่งโลหะโดยปกติทั่วไปแล้วธาตุกึ่งโลหะ ประกอบด้วย 6 ธาตุ คือ โบรอน, ซิลิคอน, เจอร์เมเนียม, สารหนู, พลวงและเทลลูเรียม แต่บางครั้งการจำแนกธาตุกึ่งโลหะได้รวม คาร์บอน, อะลูมิเนียม, ซีลีเนียม, พอโลเนียมและแอสทาทีนไว้ด้วย ในตารางธาตุทั่วไปนั้นสามารถพบธาตุกึ่งโลหะได้ที่บริเวณเส้นทแยงมุมของ บล็อก-p โดยเริ่มจากโบรอนไปจนถึงแอสทาทีน ในบางตารางธาตุที่ประกอบด้วยเส้นแบ่งระหว่างโลหะกับอโลหะและธาตุกึ่งโลหะนั้นจะอยู่ติดกับเส้นแบ่งนี้ธาตุกึ่งโลหะมีลักษณะเหมือนโลหะ แต่เปราะและนำไฟฟ้าได้ไม่ดี ในทางเคมีนั้นธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติคล้ายกับธาตุอโลหะ และยังสามารถผสมกับโลหะได้เป็นอัลลอยหรือโลหะผสม คุณสมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีส่วนใหญ่เป็นกลางในธรรมชาติ สารประกอบและธาตุกึ่งโลหะใช้ในการผลิตโลหะผสม, สารชีวภาพ, ตัวเร่งปฏิกิริยา, สารทนไฟ, แก้วและใยแก้วนำแสงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของซิลิกอนและเจอเมเนียมได้มีการใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมของสารกึ่งตัวนำในปี 1950 และได้มีการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งในต้นปี 1960 กึ่งโลหะเป็นองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง หรือเรียกว่าไฮบริด กึ่งโลหะได้เป็นที่แพร่หลายในปี 1940-1960 กึ่งโลหะบางครั้งถูกเรียกว่ากึ่งโลหะ จากการปฏิบัติที่นิยม กึ่งโลหะเป็นคำที่มีความหมายที่แตกต่างกันในทางฟิสิกส์มากกว่าในทางเคมี ทางฟิสิกส์จะมีความหมายโดยเฉพาะหมายถึงโครงสร้างวงอิเล็กอ่านเพิ่มเติม

ธาตุแทรนซิชัน

ธาตุแทรนซิชัน


ธาตุแทรนซิชัน (transition  element)  หมายถึง  ธาตุหมู่ ที่อยู่ระหว่างหมู่ธาตุ  IIA และ  IIIA  โดยธาตุแทรนซิชันมีอิเล็กตรอนบรรจุใน  d หรือ  f-ออร์บิทัลไม่เต็ม  ได้แก่ ธาตุ และกลุ่ม  ในตารางธาตุ  ธาตุแทรนซิชันมีการแบ่งเป็นหมู่ได้  8  หมู่เช่นเดียวกันธาตุ A เริ่มจากหมู่  IIIB,  IVB,  VB, VIB, VIIB, VIIIB, IB และ  IIB ธาตุหมู่  IIB  (Zn, Cd, Hg) มีอิเล็กตรอนบรรจุเต็มใน  d-ออร์บิทัล 1.  ธาตุแทรนซิชันหลัก  (main  transition) คือ ธาตุแทรนซิชันที่มีการบรรจุอิเล็กตรอนใน d-ออร์บิทัล 2.  ธาตุแทรนซิชันชั้นใน (inner  transition)  คือ ธาตุแทรนซิชันที่มีการบรรจุอิเล็กตรอนที่ f-ออร์บิทัล สมบัติของธาตุแทรนซิชันสรุปได้ดังนี้ 1. มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้นธาตุ Cr และ Cu มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1  โดยการบรรจุอิเล็กตรอนในสองระดับ  พลังงานสุดท้ายควรเป็น 4s23d4 และ 4s23d9 ตามลำดับ  แต่ปรากฏว่าเป็น 4s13d5 และ 4s13d10  เพราะการบรรจุอิเล็กตรอนแบบหลังจะทำให้อิเล็กตรอนใน  s-ออร์บิทัลเป็นแบบการบรรจุครึ่ง  ส่วนใน d-ออร์บิทัลของ  Cr  เป็นการบรรจุครึ่ง  และใน d-ออร์บิทัลของ Cu  เป็นแบบการบรรจุเต็ม  ซึ่งจะทำให้อะตอมมีความเสถียรมากกว่า 2.  อิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก (n) ถัดจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเข้าไป  จะมีจำนวนไม่เท่ากัน 3. มีสมบัติเป็นโลหะ เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ดี  โดย  Ag เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดีที่สุด  ส่วน  Fe, Co, Ni  แสดงสมบัติเป็นแม่เหล็กได้  เมื่อวางไว้ในสนามแม่เหล็กเป็นเวลานานอ่านเพิ่มเติม

ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ

ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ


การจัดธาตุให้อยู่ในหมู่ต่าง ๆ ในตารางธาตุจะใช้สมบัติที่คล้ายกันเป็นเกณฑ์ สำหรับตารางธาตุปัจจุบันได้จัดไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1  ระหว่างหมู่ IA  กับหมู่ VIIA  เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้ 1.  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1  และมีเลขออกซิเดชัน +1  ไฮโดรเจนจึงควรอยู่ในคาบ 1  หมู่ IA 2.  มีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ VIIA  คือ  มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง  ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง  สถานะเป็นแก๊ส  ไม่นำไฟฟ้า  เมื่อเกิดสารประกอบต้องการอิเล็กตรอนเพียง 1 อิเล็กตรอนก็จะมีการจัดอิเล็กตรอนเสถียรเหมือนกับฮีเลียม  จึงควรอยู่ในคาบ 1 หมู่ VIIA การที่ไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายทั้งหมู่ IA  และหมู่ VIIA  รวมทั้งมีเลขอะตอมน้อยที่สุด  จึงจัดธาตุไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1 และระหว่างหมู่ IA  กับหมู่ VIIA ไฮโดรเจนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน และมีเลขอะตอมเท่ากับ 1 ดังนั้นถ้าเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็เกณฑ์ในการจัดไฮโดรเจนลงในตารางธาตุ ไฮโดรเจนจะอยู่ในหมู่ IA คาบที่ 1 แต่ไฮโดรเจนก็อาจจะอยู่ในหมู่ VIIA ได้เนื่องจากยังขาดเพียง 1 อิเล็กตรอน ก็มีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนฮีเลียม นอกจากนี้ไฮโดรเจนมีเลขออกซิเดชันมากกว่า หนึ่งค่า ไม่นำไฟฟ้า พลังงานไอออไนเซชันลำดับทึ่ 1 สูง และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง เป็นข้อมูลสนับสนุนว่าควรจัดไฮโดรเจนไว้ในหมู่ธาตุหมู่ VIIA แต่เนื่องจากไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายทั้งหมู่ IA และหมู่ VIIA จึงจัดแยกไฮโดรเจนออกจากหมู่ธาตุทั้งสองอ่านเพิ่มเติม



สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
        

สารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 จะนีแนวโน้มของสมบัติต่างๆ ดังนี้ คือ ธาตุหมู่ IA , IIA , IIIA จะเกิดสารประกอบคลอไรด์,ออกไซด์ได้เพียงชนิดเดียว และมีเลขออกซิเดชันเพียวค่าเดียวธาตุหมู่ IV ขึ้นไปจะเกิดสารคลอไรด์,ออกไซด์ ได้หลายชนิดและมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าเเต่ค่าสูงสุดจะเท่ากับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
 สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3
 1.  แนวโน้มของจุดหลอมเหลวของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3  จะลดลงจากซ้ายไปขวา  นั่นคือคลอไรด์ของโลหะ (ซ้าย)  มีจุดหลอมเหลวสูงมาก เพราะเป็นสารประกอบไอออนิก  ส่วนคลอไรด์ของอโลหะ (ขวา)  จะมีจุดหลอมเหลวต่ำลง  เพราะเป็นสารประกอบ โควาเลนต์  ไม่นำไฟฟ้า 2.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 3     BCl3  (คาบ 2)  มีสถานะเป็นแก๊ส  (สารโคเวเลนต์)  AlCl3  (คาบ 3)  มีสถานะเป็นของแข็ง (สารไอออนิก) 3.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 4  CCl4  (คาบ 2)  SiCl4 (คาบ 3) เป็นของเหลว ไม่มีขั้ว จึงไม่ละลายน้ำ  มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า 4.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 5  NCl3  เป็นของเหลว  PCl3 เป็นของเหลว  ส่วน PCl5 เป็นของแข็ง 5.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 6    Cl2O (คาบ 2) เป็นแก๊ส  ,  SCl2 (คาบ 3)  เป็นของเหลว เพราะมวลโมเลกุลมากขึ้น  แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงมากขึ้น 6.  คลอไรด์ของธาตุหมู่ 7 เป็นแก๊สทั้งหมดอ่านเพิ่มเติม

พันธะโลหะ

พันธะโลหะ


              พันธะโลหะ (อังกฤษ: Metallic bonding) เป็นพันธะภายในโลหะซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนย้าย อิเล็กตรอน อิสระระหว่างแลตทิซของอะตอมโลหะ ดังนั้นพันธะโลหะจึงอาจเปรียบได้กับเกลือที่หลอมเหลว อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนพิเศษเฉพาะในวงโคจรชั้นนอกของมันเทียบกับคาบ (period) หรือระดับพลังงานของพวกมัน อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายเหล่านี้เปรียบได้กับทะเลอิเล็กตรอน(Sea of Electrons) ล้อมรอบแลตทิชขนาดใหญ่ของไอออนบวก ยังไม่สามารถเขียนเป็นสูตรทางเคมีได้ เพราะไม่ทราบจำนวนอะตอมที่แท้จริง พันธะโลหะอาจจะมีเป็นล้าน ๆ อะตอมก็ได้พันธะโลหะเทียบได้กับพันธะโควาเลนต์ที่เป็น นอน-โพลาร์ ที่จะไม่มีในธาตุโลหะบริสุทธ์ หรือมีน้อยมากในโลหะผสม ความแตกต่าง อิเล็กโตรเนกาทิวิตีระหว่างอะตอม ซึ่งมีส่วนในปฏิกิริยาพันธะ และอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาจะเคลื่อนย้ายข้ามระหว่างโครงสร้างผลึกของโลหะพันธะโลหะเป็นแรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต (electrostatic attraction) ระหว่างอะตอม หรือไออนของโลหะ และอิเล็กตรอนอิสระ(delocalised electrons) นี่คือเหตุว่าทำไมอะตอมหรือชั้นของมันยอมให้มีการเลื่อนไถลไปมาระหว่างกันและกันได้ เป็นผลให้โลหะมีคุณสมอ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พันธะไอออนิก

พันธะไอออนิก
           พันธะไอออนิก (อังกฤษ: Ionic bonding) เป็นพันธะเคมีชนิดหนึ่ง เกิดจากที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมสร้างพันธะกันโดยที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมให้อิเล็กตรอนกับอะตอมหรือกลุ่มของอะตอม ทำให้กลายเป็นประจุบวก ในขณะที่อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนนั้นกลายเป็นประจุลบ เนื่องจากทั้งสองกลุ่มมีประจุตรงกันข้ามกันจะดึงดูดกัน ทำให้เกิดพันธะไอออน โดยทั่วไปพันธะชนิดนี้มักเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะ โดยอะตอมที่ให้อิเล็กตรอนมักเป็นโลหะ ทำให้โลหะนั้นมีประจุบวก และอะตอมที่รับอิเล็กตรอนมักเป็นอโลหะ จึงมีประจุลบ ไอออนที่พันธะไอออนมีความแข็งแรงมากกว่าพันธะไฮโดรเจน แต่แข็งแรงพอ ๆ กับพันธะโคเวเลนต์อ่านเพิ่มเติม



พันธะโคเวเลนต์

พันธะโคเวเลนต์


         พันธะโคเวเลนต์ (อังกฤษ: Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็มดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอๆกับพันธะไอออนิกพันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกันธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะเนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนักการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้ายๆกันอย่างไรก็ดีพันธะโคเวเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยาตัวอย่างเช่นพันธะโคเวเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆกระบวนการเป็นต้นอ่านเพิ่มเติม

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ


         ตารางธาตุ (อังกฤษ: Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่างแถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆอ่านเพิ่มเติม

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม


           เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าสารต่าง ๆ นั้นประกอบด้วยอะตอม  แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีผู้ใดเคยเห็นรูปร่างที่แท้จริงของอะตอม  รูปร่างหรือโครงสร้างของอะตอมจึงเป็นเพียงจินตนาการหรือมโนภาพที่สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการทดลอง  เรียกว่า แบบจำลอง”  ซึ่งจัดเป็นทฤษฎีประเภทหนึ่ง  แบบจำลองอะตอมอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผลการทดลองหรือข้อมูลใหม่ ๆ เมื่อแบบจำลองอะตอมเดิมอธิบายไม่ได้  ดังนั้นแบบจำลองอะตอมจึงได้มีการแก้ไขพัฒนาหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการทดลอง  นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงมากร่วมกับคอมพิวเตอร์  และถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพภายนอกของอะตอมอ่านเพิ่มเติม