สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ
สารประกอบของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่
3 จะนีแนวโน้มของสมบัติต่างๆ ดังนี้ คือ ธาตุหมู่ IA ,
IIA , IIIA จะเกิดสารประกอบคลอไรด์,ออกไซด์ได้เพียงชนิดเดียว และมีเลขออกซิเดชันเพียวค่าเดียวธาตุหมู่ IV
ขึ้นไปจะเกิดสารคลอไรด์,ออกไซด์ ได้หลายชนิดและมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าเเต่ค่าสูงสุดจะเท่ากับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่
2 และ 3
1.
แนวโน้มของจุดหลอมเหลวของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3 จะลดลงจากซ้ายไปขวา นั่นคือคลอไรด์ของโลหะ (ซ้าย) มีจุดหลอมเหลวสูงมาก
เพราะเป็นสารประกอบไอออนิก
ส่วนคลอไรด์ของอโลหะ (ขวา)
จะมีจุดหลอมเหลวต่ำลง
เพราะเป็นสารประกอบ โควาเลนต์
ไม่นำไฟฟ้า 2. คลอไรด์ของธาตุหมู่
3 BCl3 (คาบ 2)
มีสถานะเป็นแก๊ส
(สารโคเวเลนต์) AlCl3 (คาบ 3) มีสถานะเป็นของแข็ง (สารไอออนิก) 3. คลอไรด์ของธาตุหมู่ 4 CCl4 (คาบ 2)
SiCl4 (คาบ 3) เป็นของเหลว ไม่มีขั้ว
จึงไม่ละลายน้ำ มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า 4. คลอไรด์ของธาตุหมู่ 5 NCl3 เป็นของเหลว
PCl3 เป็นของเหลว
ส่วน PCl5 เป็นของแข็ง 5. คลอไรด์ของธาตุหมู่ 6 Cl2O (คาบ
2) เป็นแก๊ส , SCl2 (คาบ 3) เป็นของเหลว เพราะมวลโมเลกุลมากขึ้น แรงแวนเดอร์วาลส์แข็งแรงมากขึ้น 6. คลอไรด์ของธาตุหมู่ 7 เป็นแก๊สทั้งหมดอ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น